วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ดอกแก้ว






ลักษณะทั่วไป

แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่ว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิงที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้วนอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใยบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธี ทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
การปลูก

การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป


การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ดินร่วนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง
การขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอน
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อ
สภาพธรรมชาติพอสมควร


ดอกชบา


การขยายพันธุ์
ลักษณะ

Hibiscus sosa chinensis Linn.
ดอกใหม่ แดงใหม่ ชุมบา
MALVACEAE.
รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ไตรภูมิพระร่วง ดาหลัง
รากใช้ยาสมุนไพร รักษาฝี และถอนพิษ
ใช้กิ่งตอน หรือปักชำ
ไม้พุ่ม เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน เปลือกเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม โคนใบมน ริมใบเป็นจักคล้ายใบเลื่อย ดอกชบามีหลายพันธุ์ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มีอยู่สีหลายสี เช่น แดง แสด ม่วง เหลือง ขาว มีเกสรอยู่กลางดอก บางพันธุ์จะยาวยื่นออกมานอกดอก

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ดอกกุหลาบ


การปลูกและดูแลรักษาดอกกุหลาบ

ถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้

ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง

สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง

กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร (ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม

กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ กิ่งตัดชำ และกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ดอกมะลิ

ชนิดของมะลิที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล
1.มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany)
2. มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine)
3. มะลิฉัตร (Arabian jasmine)
4. มะลิพวง (Angelwing jasmine)
5. พุทธชาติ (Star jasmine)

ลักษณะทั่วไป
มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระ

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูงอาจุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั้วไป

การปลูก
การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยน ดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5วัน/ครั้งดิน อบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรค รากเน่า (Sclerotium root rot)
แมลง หนอนเจาะดอกอาการ
อาการ ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสียรูปทรง และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
การป้องกัน ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่

ดอกพวงแสด

การปลูกพวงแสด
การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุมให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ 2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูก นำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำให้ชุ่มแสง พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควรน้ำ การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมากดิน ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่น ๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริญเติบโตได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดินปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร ไมมีโรคและแมลงที่สำคัญ หรือโรคและแมลงที่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก พวงแสดมีวิธีขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง
การขยายพันธุ์

ต้น พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะและสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล

ใบ ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร

ดอก พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะอยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดอกรวงผึ้ง


รวงผึ้งเป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงประมาณ ๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใบเป็นประเภทใบเดี่ยวยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร ใบสีเขียวใต้ใบเป็นสีอ่อน และเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ดอกสีเหลืองกลิ่นหอม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งข้าง และมักจะบานพร้อมกันกลีบรองดอกมี ๕ กลีบ เหมือนรูปดาว ไม่มีกลีบดอก มีเกสรตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เป็นไม้พื้นเมืองของไทยทางภาคเหนือ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยการตอน

ดอกปันยี


ดอกปันยีเป็นไม้เถา เถากลมเกลี้ยงเป็นมัน ใบเป็นประเภทใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปทรงป้อมปลายแหลม โคนป้าน ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ช่อละ 2-3 ดอก สีขาว ออกตามง่ามใบ มีกลีบเลี้ยงเป็นเส้น ๆ สีเขียวอ่อนโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ส่วนปลายดอกเป็นกลีบ แยกออกเป็น 8-9 กลีบ เรียงซ้อนกันดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ออกดอกประมาณเดือนมกราคมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือการตอน

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ดอกเบญจมาศ

ลักษณะทั่วไป
เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีดอกสีสันสดใสที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ใช้คลุมดินตามแนวทางเดินหรือริมรั้วเพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบแดดแต่ก็สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถออกดอกได้สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาเป็นไม้ประดับภายในเพื่อสร้างสีสันสดใสให้กับสถานที่ แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบญจมาสเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงมากในการดูดสารพิษภายในอาคารเบญจมาศเป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยักใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาวสีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆแสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีนอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้วเบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน

สภาพการปลูก
เป็นพรรณไม้ทีปลูกที่แสงแดดจัด กึ่งแดด เบญจมาศชอบดินร่วนซุยที่อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุ ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
การดูแลรักษา
เบญจมาศ เป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสงมากเมื่อปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร จึงควรตั้งไว้ริมหน้าต่างหรือในที่ๆมีแสงส่องถึง ตัองการน้ำพอสมควร และต้องการความชื้นมากจึงควรหมั่นฉีดพ่นละอองน้ำใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเดือนละ 1 - 2 ครั้ง

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ลีลาวดี



ลีลาวดี

ชื่อวิทยาศาสตร์
Plumeria spp.
ตระกูล
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
Frangipani,Pagoda,Temple
ถิ่นกำเนิด
เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะทั่วไป

ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี

ฤดูกาลออกดอก

ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง

สภาพการปลูก

ลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โป๊ยเซียน


โป๊ยเซียน เป็นไม้อวบน้ำที่มียางและหนามบริเวณลำต้น ทรงต้นเป็นทรงพุ่ม มีอายุยืนนับสิบปี เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเนื่องจากสามารถสะสมน้ำไว้ตามลำต้นและใบ จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโป๊ยเซียนมีดังนี้
ลำต้น มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยมบิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้นเนี้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลถึงเทาอมดำ
หนาม เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่มตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบตามแนวลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็นเกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ใบ ส่วนใหญ่พื้นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเทา บางทีใต้ใบอาจมีสีแดงถึงแดงเข้มขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รูปใบมีหลายแบบ ได้แก่ รูปไข่ปลายใบมน ใบรีรูปหยดน้ำหรือรูปใบพาย ฯลฯ บางสายพันธุ์ใบอาจบิดเป็นเกลียว เป็นคลื่นหรือโค้งงอเล็กน้อย

ดอก โป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกสองกลีบ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ตรงกลางกลีบดอก โป๊ยเซียนออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเป็นคู่ ตั้งแต่ สองดอก สี่ดอก แปดดอก สิบหกดอก สามสิบสองดอก หรือมากกว่านั้น สีของดอกมีหลายสี เช่น แดง ขาว ครีม เหลือง ส้ม เขียว นอกจากนี้ยังมีหลายสีและลายในดอกเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์ รูปทรงของดอกมีทั้งทรงกลม ยาว รี เหลี่ยม กลีบดอกตั้งขึ้นคล้ายกรวยหรือผายลงคล้ายร่ม ขนาดของดอกบางสายพันธุ์มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทยบางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 6 ซม.
ผลและเมล็ด ดอกโป๊ยเซียนหลังจากที่มีการผสมเกสรติดแล้ว จะพบว่าที่บริเวณกลางดอกจะมีกระเปาะนูนขึ้นมาเป็นผลสีขาว มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ 3 พู แต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป

















วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ดอกไม้กับดอกไม้ไทย


ดอกไม้ หรือ ดอกไม้ไทย กับมนุษย์มีความเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอดสำหรับคนไทย ดอกไม้ไทย มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่มาก ทั้งด้านศาสนา พิธีการต่างๆ เพื่อการสักการะบูชาสิ่งที่ตนเคารพ รวมทั้งการนำ ดอกไม้ไทย มาประดับตกแต่งภายในบ้าน สร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ สบายใจ ความสดชื่น และความประทับใจต่อผู้มาเยือน รวมทั้งมีการนำ ดอกไม้ไทย ไปผสานกับวรรณกรรมต่างๆ จนขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการชมพฤกษา การเปรียบเปรยตัวละครเอกด้วยชื่อดอกไม้ที่น่าทนุทะนอม
ประเทศไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อันเหมาะในการเพาะปลูก ส่งผลให้มีพันธุ์ ดอกไม้ไทย ต่างๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตามคนไทยในปัจจุบันนับว่าห่างจากธรรมชาติมาขึ้น เด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักชื่อ หรือพันธุ์ดอกไม้ที่เปรียบเสมือนวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ดอกไม้ไทย จึงควรค่าต่อการศึกษากับทุกคนตลอดไป